1

 

 

    <<กลับหน้าหลัก>>            

                             

 

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแดง

 

 

1.ข้อมูลทั่วไป

-ที่ตั้ง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแดง  ตั้งอยู่ศาลาประชาคมบ้านดอนแดง  หมู่ที่ 6       ตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส   จังหวัดสกลนคร

- ประวัติความเป็นมา

                กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแดง  หมู่ที่ 6  ตำบลศรีวิชัย  อำเภอวานรนิวาส   จังหวัดสกลนคร  เกิดจากการรวมตัวของแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแดง   ที่มีความสนใจหารายได้เสริมจากฤดูทำนา  โดยได้รวมตัวเพื่อการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรขึ้นเมื่อวันที่  25  กรกฎาคม  2547   มีสมาชิกรวมจำนวน 51 คน โดยมีนางไสล   แสนอุบล   เป็นประธานกลุ่มคนแรกปัจจุบันมีนางบุญมา   คชเคลื่อน   เป็นประธานกลุ่ม (ได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 52)   และกลุ่มได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2548

-การบริหารงานกลุ่ม

                กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแดง  ได้มีการบริหารงานในรูปคณะกรรมการบริหารและการจัดการของกลุ่ม  ซึ่งมีการเลือกตั้งคณะกรรมการทุก  2 ปี

                คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแดง   จำนวน 15  คนดังนี้

1.นางบุญมา                          คชเคลื่อน              ประธาน

2.นางพิศมัย                          เกตุนันท์                รองประธาน

3.นางนงค์คราญ                  พรวิจิตร เลขานุการ

4.นางสมพร                          ราชประสิทธิ์        เหรัญญิก

5.นางลำใย                            เสนารักษ์              ประชาสัมพันธ์

6.นางอรอนงค์                     เสนารักษ์              ผู้ช่วยเลขานุการ

7.นางจำเนียร                       วงค์อินตา              ผู้ช่วยเหรัญญิก

8.นางไสว                             เข็มทอง                 กรรมการ

9.นางอรทัย                           มูลเพชร                 กรรมการ

10.นางบัวใส                        หอมจันทร์            กรรมการ

11.นางประทีป                     แสนรู้                     กรรมการ

12.นางอุทิศ                          พรมจัง                   กรรมการ

13.นางบุญสวน                   ปุกะนะ                  กรรมการ

14.นางบัวสร                        พรมวัง                   กรรมการ

15.นางอ่อนสา                     บัวสกุล                  กรรมการ

 

ที่ปรึกษากลุ่ม

1.นายสมาน                          แสนอุบล               ผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนแดง

2.นายคำพอง                        มูลเพชร                 สมาชิก อ...บ้านดอนแดง

 

2.ด้านเศรษฐกิจ

2.1 การสร้างงานสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัวและชุมชน

กิจกรรมของสมาชิกกลุ่มย่อย

                      สมาชิกของกลุ่มได้ดำเนินการปลูกพืชผักในฤดูแล้งบริเวณรอบหนองใกล้หมู่บ้านและปลูกถั่วลิสงในฤดูฝน    ดังรายละเอียดดังดังนี้

                1.บัวบก    มีสมาชิกของกลุ่มปลูกจำนวน 30  ราย  พื้นที่ปลูก  10 ไร่

                2.พืชผักอื่น  เช่น   พริก   มะเขือต่างๆ (มะเขือม่วง,มะเขือเปาะ,มะเขือยาว)ผักบุ้งจีน,คื่นฉ่าย ,โหรพา ฯลฯ   มีสมาชิกปลูกจำนวน  20 ราย พื้นที่ปลูก  20 ไร่

                3.ปลูกถั่วลิสงในฤดูฝน (พันธ์ สข.38) มีสมาชิกของกลุ่มปลูกจำนวน 35 ราย  พื้นที่ปลูก  80 ไร่

                4.การทำหมอนสม็อกอเนกประสงค์

                กิจกรรมรวม   กลุ่มได้ดำเนินกิจกรรมการทำน้ำใบบัวบกพร้อมดื่ม

2.2 การส่งเสริมด้วนการตลาด

                                การจำหน่ายผลผลิตของบัวบก,และผักอื่น  ถั่วลิสง ,ของสมาชิกไม่มีปัญหาในเรื่องการตลาด เพราะกลุ่มเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิต   โดยมีสมาชิกของกลุ่มคือ นางสมพร      สุนารักษ์และนางก้านก่อง       บัวสกุล เป็นผู้รวบรวมผลผลิตเพื่อส่งพ่อค้าคนกลางหรือพ่อค้ามารับซื้อที่หมู่บ้าน     เพื่อนำผลผลิตไปจำหน่ายในท้องที่   อำเอต่างๆ ในจังหวัดสกลนคร  เช่น   อำเภอเมืองสกลนคร , อำเภอพังโคน ,อำเภอพรรณนานิคม ,อำเภอวาริชภูมิ ,และอำเภออื่นๆในจังหวัดใกล้เคียง  โดยมีราคาขายส่งดังนี้

                -ใบบัวบก  ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือน ตุลาคม เมษายน  ราคาขายกิโลกรัมละ 20 – 30  บาท

                -พริก   ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือน กุมภาพันธ์ เมษายน ราคาส่งกิโลกรัมละ 120-150 บาท

                -พืชผักอื่นๆ ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือน มกราคม เมษายน

                -ถั่วลิสง   ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือน  สิงหาคม กันยายน  ราคาขาบส่งเมล็ดถัวลิสงสำหรับต้มขายกิโลกรัมละ 10 บาท

                -น้ำใบบัวบกพร้อมดื่ม  จะทำจำหน่ายโดยตรง ตามงานที่ทางราชการจัดขึ้น,ตามงานต่างๆที่ได้รับว่าจ้าง,ขายในชุมชน และได้รับการสาธิตวิธีการทำน้ำใบบัวบกพร้อมดื่มในงานนิทรรศการของทางราชการจัดขึ้น

2.3.การพัฒนาผลิตภัณฑ์

                -ได้รับการถ่ายทอดความรู้การทำน้ำใบบัวบกพร้อมดื่ม  จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล   วิทยาเขตสกลนคร

                -ได้ส่งผลิตภัณฑ์ไปปรับปรุงคุณภาพที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตสกลนคร

3.การส่งเสริมคุณภาพชีวิต/สิ่งแวดล้อม

                -ส่งเสริมในสมาชิกกลุ่มพืชผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่าย

                -มีการถ่ายทอดความรู้เรื่องการสาธิตการทำน้ำใบบัวบกพร้อมดื่มที่โรงพยาบาลวานรนิวาส  ,  มัธยมวานรนิวาส ,กิจกรรมคลินิกเคลื่อนที่ของอำเภอวานรนิวาส

                -ส่งเสริมการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบเรียบร้อย  สะอาด

                -ส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์  เช่น  เศษพืชผักต่างๆ , มาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ , การทำปุ๋ยหมักจากต้นถั่วลิสง

                -ส่งเสริมสมาชิกของกลุ่มแม่บ้านอื่นที่อยู่ใกล้เคียง  เช่น  กลุ่มแม่บ้านดอนแดงน้อย หมู่ที่ 10  ให้นำผลผลิตมาร่วมจำหน่ายร่วมกับกลุ่มเพื่อเป็นสร้างเครือข่าย

4.ความสามารถในการบริหารและจัดการกลุ่ม

                -การบริหารงานของกลุ่ม  มีคณะกรรมการบริหารและจัดการกลุ่มจำนวน 15 คน

                -มีการประชุมคณะกรรมการกลุ่ม 2 เดือนต่อครั้งหรือตามภารกิจเร่งด่วน

                -มีการประชุมสมาชิกกลุ่มปีละ 2 ครั้ง

                -มีการจดบันทึกการทำกิจกรรมของกลุ่มทุกครั้ง

                -มีการจดบันทึกรายรับ รายจ่ายเงินของกลุ่ม

                -มีการเลือกตั้งคระกรรมการกลุ่ม  ทุก 2 ปี

                -มีกฎระเบียบข้อบังคับกลุ่มที่ชัดเจน (ตามเอกสาร)

5.บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิก

                -สมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการวางแผนและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

                -สมาชิกมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกลุ่ม

                -สมาชิกมีการร่วมทำกิจกรรมต่างๆที่กลุ่มจัดขึ้นทั้งในและนอกชุมชน

                -สมาชิกมีส่วนร่วมในการจำแผนดำเนินกิจกรรมต่างๆขงกลุ่ม

                -กลุ่มเป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรด้านการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ,การปลูกพืชนอกฤดู,การทำน้ำบัวบกพร้อมดื่ม

                -สมาชิกของกลุ่มมีความเข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม

                -สมาชิกกลุ่มมีการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์  เช่น การปลูกป่า,โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน,ร่วมพัฒนาหมู่บ้าน,วัด,โรงเรียน

                 6.ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม

                  6.1.ทรัพย์สินของกลุ่ม

                                ได้รับการสนับสนุนจาก อ... ศรีวิชัย งบประมาณ 40,000 บาท

                -เครื่องปั่นน้ำใบบัวบก                       จำนวน                   1              เครื่อง

                -มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า          จำนวน                   1              ตัว

                -ชุดกรองน้ำ                                         จำนวน                   1              ตัว

                -ถังแช่                                                    จำนวน                   2              ถัง

                -ถังพลาสติกทำน้ำหมักชีวภาพขนาดบรรจุ  100 ลิตร                  จำนวน      20    ถัง

                -กระทะ                                                 จำนวน                   2              ใบ

                -กะละมัง                                               จำนวน                   2              ใบ

                -หม้อ                                                      จำนวน                   2              ใบ

                6.2.ทุนสำรองของกลุ่ม

                -ระดมทุนจากสมาชิกหุ้นละ  50 บาทจำนวน 129 หุ้น     เป็นเงิน         6,450    บาท

                -ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทางราชการ เช่น อ...;พัฒนาชุมชน   เป็นเงิน   50,000 บาท

                -ดอกผลจาการดำเนินงานของกลุ่ม                     เป็นเงิน         6,850       บาท

                                                                                                                รวมเป็นเงิน    63,300         บาท

                6.3.กำไรสุทธิของกลุ่ม

                -ในรอบปีที่ผ่านมากลุ่มมีผลกำไรจากการดำเนินงานของกลุ่ม   เป็นเงินทั้งสิ้น  6,850     บาท

 

                7.การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   7.1.กิจกรรมสงเคราะห์สมาชิก

                                -ร่วมกับหมู่บ้านในการดำเนินการฌาปนกิจสงเคราะห์  ครอบครัวละ  40 บาท

                                -ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการออมกับกองทุนหมู่บ้าน

                                -ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน

                  7.2.กิจกรรมสาธารณประโยชน์และสนับสนุนองค์กรและกลุ่มต่างๆในท้องถิ่น

                                -ร่วมจัดทำอาหารกลางวันของโรงเรียน  โดยแต่งตั้งสมาชิกจำนวน 12 กลุ่ม   หมุนเวียนเข้าไปร่วมประกอบอาหารตามโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

                                -ร่วมกันประกอบอาหารเพื่อถวายแด่พระสงฆ์ของวัดในหมู่บ้านและสนับสนุนผลผลิตในการประกอบอาหารถวายแด่พระสงฆ์

                                -ร่วมกิจกรรมวันเด็ก ,วันแม่,วันพ่อ

                                -มีบทบาทในการเป็นกรรมการหมู่บ้าน,กรรมการการศึกษา,กรรมการกองทุนหมู่บ้าน

                                -ร่วมกิจกรรมปลูกป่าชุมชนบริเวณวัด,และที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน    

                                -ปฏิบัติตามกฎของหมู่บ้านว่าด้วยการอนุรักษ์พันธุ์ปลาและกบ  เขียด   โดยงดจับปลา    จับกบ  เขียด   ในฤดูวางไข่  ตั้งแต่วันที่ 15  เมษายน-15 กรกฎาคม ของทุกปี  ซึ่งเป็นกฎของหมู่บ้านที่ห้ามจับในเขตหวงห้าม  ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

 

 

1

 

 

1
1